www.cpird.in.th

ประวัติความเป็นมา


 

ความเป็นมา ใน พ.ศ.2537 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย (กระทรวงศึกษาธิการ) จัดทำ“ โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท” โดยเริ่มรับนักศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 เป็นต้นไปเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ใน พ.ศ.2540 กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดตั้ง“ สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” เพื่อรับผิดชอบโครงการดังกล่าวสำนักงานนี้มีฐานะเทียบเท่ากองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขใช้ชื่อย่อ สบพช. 

สถานที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 5 ชั้น 5 
โทรศัพท์ 0-2590-1975, 0-2590-1979-80 
โทรสาร 0-2590-1975, 0-2590-1980
E-mail address: ocpird@cpird.in.th

วัตถุประสงค์ของโครงการ 
1. เพิ่มการผลิตแพทย์และให้กระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากยิ่งขึ้น
2. เพิ่มโอกาสแก่นักเรียนในชนบทให้ได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์
3. พัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัย
4. พัฒนาคุณภาพระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข ของโรงพยาบาลศูนย์และสถาบันสมทบ เป้าหมาย ผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้

 

1. ผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท พ.ศ.2538 – 2549 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 มิถุนายน 2537 โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ในช่วงปีการศึกษา 2538 กับ 2549 จำนวน 3,000 คนซึ่งจะได้ผลผลิตแพทย์ ตั้งแต่ปี 2544 ถึง ปี 2555 รวม 3,000 คน
2. ผลิตแพทย์ตามโครงการเร่งรัดการผลิตแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท พ.ศ.2547– 2556 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 15 มิถุนายน 2547 โดยมีเป้าหมายรับนักศึกษาแพทย์ ในช่วงปีการศึกษา 2547– 2556 จำนวน 3,807 คน ซึ่งจะได้ผลผลิตแพทย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึงปี พ.ศ.2562 รวม 3,807 คน ภาพลักษณ์ของบัณฑิตแพทย์ในโครงการ “ เป็นแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กำหนดล่าสุดโดยแพทยสภา และเน้นหนักให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีประสบการณ์และมีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในชนบท พร้อมที่จะให้บริการสาธารณสุขเชิงรุกแก่ประชาชนทั้งชุมชน” ลักษณะพิเศษของโครงการ

  • คัดเลือกนักเรียนจากชนบทให้เรียนในภูมิภาคและให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม
  • การเรียนการสอน การศึกษาระดับเตรียมแพทย์และปรีคลินิกชั้นปีที่ 1-3 ศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ และ/หรือคณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัย การศึกษาระดับคลินิก ชั้นปีที่ 4-6 ศึกษาและฝึกงานที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเครือข่าย

3. การชดใช้ทุนเมื่อสำเร็จการศึกษา นักศึกษาแพทย์ของโครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทเป็นคู่สัญญาของกระทรวงสาธารณสุข (ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2540) เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับไปปฏิบัติงานที่ภูมิลำเนาเดิม หรือที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หากไม่สามารถปฏิบัติได้จะต้องชดใช้เงินให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กำหนด คุณสมบัติของนักศึกษาแพทย์ในโครงการ

  • มีสัญชาติไทย
  • มีหรือเคยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเขตรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยตามโครงการ ฯ
  • คุณสมบัติอื่นๆ ตามที่แต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด การคัดเลือกนักศึกษา รับนักเรียนในชนบทเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์โดยใช้วิธีรับตรงด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันผลิตแพทย์(โรงเรียนแพทย์)และโรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นที่ตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่นักเรียนชนบทเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ วิธีคัดเลือกใช้วิธีสอบวัดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเข้าศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ร่วมกับการสัมภาษณ์ และการสังเกตพฤติกรรม พื้นที่การรับนักศึกษา กำหนดพื้นที่การรับนักศึกษาและโควตาจังหวัดของแต่ละเครือข่ายการผลิตเพื่อให้เกิดการกระจายโดยใช้ข้อมูลการกระจายแพทย์ตาม ระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยมีการพิจารณา